“องค์กรสุขภาพมีคุณภาพ คนนราธิวาสสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุขและมีระบบสุขภาพที่ยั่งยืน”
– สถานบริการสุขภาพในทุกระดับมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง
– บุคลากรทางการแพทย์มีทักษะและมีความเชี่ยวชาญ พร้อมบริการในทุกสถานการณ์ ทีมสนับสนุนมีความเป็นมืออาชีพในการจัดการ
– มีการสร้างสรรค์ นวัตกรรม รูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาทางสุขภาพของประชาชนได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย
– ผู้รับบริการเชื่อมั่นและไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพที่มีระบบบริการที่เป็นมิตร ไร้รอยต่อ มีความสุขระหว่างรอรับบริการ
– ประชาชนชาวนราธิวาสมีการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อระบบสุขภาพ นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องลดอัตราโรคเรื้อรังและภัยสุขภาพต่างๆ ลงจากเดิม
– ประชาชนได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างเสมอภาค ครอบคลุม และ เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย และอัตราฟันผุในเด็กลดลง
– การเจ็บป่วยและตายด้วยโรคและภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพของประชาชนแต่ละกลุ่มวัยลดลงหรือไม่เป็นปัญหาในทุกพื้นที่กล่าวคือ การลดปัญหามารดาตาย ทารกคลอดก่อนกำหนดลดลง โรควัณโรคได้รับการรักษาที่สำเร็จมีความครอบคลุม ลดปัญหายาเสพติด
– ประชาชนได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
– บุคลากรมีความสุขในการให้บริการประชาชน
– หน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐมีการพัฒนา เตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีศักยภาพพร้อมบริการ มีการบริหารจัดการที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันตามระดับบริการ
– หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการภายในที่คล่องตัว โปร่งใสเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ยึดมั่นในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัฒนธรรมองค์กร บุคลากรเป็นแบบอย่างทางสุขภาพ
– ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพระดับชุมชนที่มีประสิทธิภาพ สามารถดูแล เฝ้าระวัง และจัดการภาวะเสี่ยงสุขภาพเบื้องต้นของชุมชนได้ตามสภาพและบริบทพื้นที่
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ การดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกับชุมชน
– ผู้นำทางศาสนาเป็นกำลังสำคัญในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน ตลอดจนร่วมสร้างนวัตกรรม และเป็นแกนนำหลักในการสร้างกติกาชุมชนเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน
– ระบบการจัดการสุขภาพในชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ประชาชนพึ่งตนเองทางสุขภาพได้ มีหมู่บ้านต้นแบบที่มีความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพของชุมชนในทุกพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม